งานของระบบไฟฟ้ากำลังที่ผู้ออกแบบจะต้องรับผิดชอบในการออกแบบ ได้แก่ 1. ระบบการจ่ายกำลังไฟฟ้า ( Power Distribution System ) 2. ระบบไฟฟ้าแสงสว่าง ( Lighting System ) 3. ระบบไฟฟ้าสำรอง ( Standby Power System ) 4. ระบบป้องกันฟ้าผ่า ( Lightning Protection System ) 5. ระบบการขนส่งแนวดิ่ง ( Vertical Transportation System )
ส่วนงานของระบบไฟฟ้าสื่อสารที่ผู้ออกแบบจะต้องรับผิดชอบในการออกแบบ ได้แก่ 1. ระบบโทรศัพท์ ( Telephone System ) 2. ระบบสัญญาณเตือนอัคคีภัย ( Fire Alarm System ) 3. ระบบเสาอากาศโทรทัศน์รวม ( Master Antenna TV System ) 4. ระบบรักษาความปลอดภัย ( Security System ) 5. ระบบโทรทัศน์วงจรปิด ( Closed Circuit TV System ) 6. ระบบเสียง ( Sound System ) 7. ระบบควบคุมอาคารอัตโนมัติ ( Building Automation System )
CE ย่อมาจาก European Conformity โดยผลิตภัณฑ์ที่ได้รับเครื่องหมายนี้จะมีคุณสมบัติตรงตามมาตรฐานต่อไปนี้ · 89/336/EEC Electromagnetic compatibility Directive · 72/23/EEC Low Voltage Equipment Directive · EN50081-1 ( Emissions ) · EN50082-1 ( Susceptibility ) · EN61010 ( Safety ) และสามารถนำไปขายได้ในประเทศสมาชิกของ European Economic Area ( EEA ) ซึ่งประกอบด้วยประเทศสมาชิกของ EU ( European Union ) และ EFTA ( European Free Trade Association )เป็นมาตรฐานระบบแรงดันต่ำที่ได้กำหนดขึ้น ซึ่งในขณะนี้หลายประเทศในยุโรปได้ตกลงที่ใช้เป็นมาตรฐานเดียวกัน รวมถึงประเทศไทย เพื่อแก้ไขปัญหาการเกิดความสับสนในการออกแบบระบบไฟฟ้า และผลิตอุปกรณ์ไฟฟ้าข้ามประเทศตาม IEC 60038 กำหนดให้ระบบไฟฟ้าแรงดันต่ำมีระดับแรงดันพิกัด คือ 400/230 V 3 เฟส 4 สาย แต่ยอมให้คลาดเคลื่อนได้ + 10% การติดตั้งทางไฟฟ้าสำหรับประเทศไทยนั้น ในอดีตการไฟฟ้านครหลวง ( กฟน. ) และการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ( กฟภ. ) ต่างมีมาตรฐานของตนเอง ข้อกำหนดส่วนมากจะเหมือนกัน แต่ก็มีบางส่วนที่ต่างกัน ทำให้ผู้ออกแบบระบบไฟฟ้าและผู้ติดตั้งระบบและอุปกรณ์ไฟฟ้าเกิดความสับสน ด้วยเหตุนี้สมาคมวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ( ว.ส.ท. ) ด้วยความร่วมมือจากการไฟฟ้าทั้งสองแห่งดังกล่าวได้จัดทำ “ มาตรฐานการติดตั้งทางไฟฟ้าสำหรับประเทศไทย ” ขึ้นเพื่อให้ทั้งประเทศมีมาตรฐานเรื่องการติดตั้งทางไฟฟ้าเพียงฉบับเดียว มาตรฐานการติดตั้งทางไฟฟ้าสำหรับประเทศไทยฉบับใหม่นี้ เนื้อหาส่วนมากจะแปลและเรียบเรียงจาก National Electrical Code ( NEC ) และก็มีความพยายามที่จะนำมาตรฐานของ IEC มาใช้ด้วย โดยเฉพาะส่วนที่เกี่ยวกับอุปกรณ์ไฟฟ้า
เช่น เซอร์กิตเบรกเกอร์ที่ใช้จะต้องได้มาตรฐาน IEC 60898 และ
IEC 60947-2 ว.ส.ท.เป็นมาตรฐานแรกที่วิศวกรไฟฟ้าผู้ออกแบบจะต้องศึกษาให้เข้าใจเป็นอย่างดีเพื่อให้สามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้ นอกจากนี้ยังมีมาตรฐานอื่นของ ว.ส.ท.ที่วิศวกรไฟฟ้าจำเป็นต้องใช้ในการออกแบบคือ
- มาตรฐานการป้องกันฟ้าผ่าสำหรับอาคารและสิ่งปลูกสร้าง
- มาตรฐานการป้องกันผลของแม่เหล็กไฟฟ้าจากฟ้าผ่า
-
มาตรฐานสัญญาณเตือนอัคคีภัย สายไฟฟ้าทนไฟ ( Fire Resistant Cable ) คือสายไฟฟ้าที่ผลิตตามคุณสมบัติทั้ง 5 ประการ คือ 1) Flame Retardancy ตามมาตรฐาน IEC 332 หรือ BS 4066 คือ ติดไฟได้ยาก และถ้าสายติดไฟก็สามารถดับเองได้ ( Self-extinguish ) ภายในช่วงระยะเวลาหนึ่ง 2) Flame Propagation ตามมาตรฐาน IEC 332 หรือ BS 4066 คือ คุณสมบัติซึ่งบ่งถึงอัตราที่ไฟอาจจะลุกลาม และกระจายไปตามความยาวของสายไฟฟ้า โดยทั่วไปแล้วสายไฟฟ้าที่มีค่า Flame Propagation ต่ำ จะเป็นแบบที่สามารถดับไฟได้เอง 3) Acid and Corrosive Gas Emission ตามมาตรฐาน IEC 754 หรือ BS 6425 คือ คุณสมบัติซึ่งแสดงการเกิดกรดหลังจากเกิดไฟไหม้ กรดที่เกิดขึ้นจะกัดโลหะของโครงสร้างและอุปกรณ์อื่นๆ สายไฟฟ้าที่มีสาร Halogen น้อย หรือไม่มีเลยก็จะลดการเกิดกรดและก๊าซพิษ 4) Smoke Emission ตามมาตรฐาน IEC 1034 หรือ BS 7622 คือ คุณสมบัติซึ่งแสดงปริมาณควันที่เกิดจากการไหม้ของสายไฟฟ้า 5) Fire Resistance ( Circuit Integrity ) ตามมาตรฐาน IEC 331 หรือ BS 6387 คือ คุณสมบัติที่แสดงว่าภายใต้สถานการณ์ไฟไหม้ สายไฟฟ้ายังสามารถจ่ายกระแสไฟฟ้าได้ในช่วงเวลาหนึ่ง สาย Cross-linked
Polyethylene ( XLPE ) สาย XLPE เป็นที่นิยมใช้ในระบไฟฟ้าแรงสูงมากชนิดหนึ่ง จัดเป็นสาย Fully
Insulated โดยมีโครงสร้าง และส่วนประกอบดังรูป ( Conductor ) ส่วนใหญ่จะเป็นทองแดงในลักษณะตีเกลียว
( - ชีลด์ของตัวนำ ( Conductor Shield ) ทำด้วยสารกึ่งตัวนำ ( Semi-conducting Material ) มีหน้าที่ช่วยให้สายไฟฟ้าระหว่างตัวนำกับฉนวน กระจายอย่างสม่ำเสมอในแนวรัศมีเป็นการช่วยลดการเกิด Breakdown ได้ - ฉนวน ( Insulation ) เป็นชั้นที่หุ้มห่อชั้นชีลด์ของตัวนำอีกทีหนึ่ง ทำด้วยฉนวน XLPE สายเคเบิลที่ดีนั้นผิวด้านนอกของชั้นฉนวนจะต้องเรียบ - ชีลด์ของฉนวน ( Insulation Shield ) เป็นชั้นของ Semi-conducting Tape พันทับชั้นของฉนวน จากนั้นก็จะหุ้มด้วยชั้นของ Copper Tape อีกทีหนึ่ง ชีลด์ของฉนวนนี้จะทำหน้าที่จำกัดสนามไฟฟ้า ให้อยู่เฉพาะภายในสายเคเบิล เป็นการป้องกันการรบกวนระบบสื่อสาร นอกจากนี้การต่อชีลด์ลงดินจะช่วยลดอันตรายตากการสัมผัสถูกสายเคเบิลด้วย และทำให้เกิดการ กระจายของแรงดันอย่างสม่ำเสมอขณะใช้งาน - เปลือกนอก ( Jacket ) ชั้นของเปลือกนอกนี้อาจจะเป็น Polyvinyl Chloride หรือ Polyethylene ก็ได้ แล้วแต่ว่าลักษณะของงานจะเป็นอย่างไร ถ้าเป็นงานกลางแจ้งก็มักจะใช้ Polyvinyl Chloride เพราะว่ามันเฉื่อยต่อการติดไฟ ในขณะที่ Polyethylene มักจะใช้งานแบบเดินลอย เนื่องจากความทนทานต่อสภาพดินฟ้าอากาศ ส่วนในกรณีที่วางเคเบิลใต้ดินอาจจะมีชั้นของ Service Tape ซึ่งอาจทำด้วยชิ้นผ้า ( Fabric Tape ) คั่นระหว่างชีลด์กับเปลือกนอกช่วยป้องกันการเสียดสีและการกระทบกระแทก สายชนิดนี้สามารถเดินลอยในอากาศหรือฝังใต้ดินก็ได้ แต่นิยมใช้ฝังใต้ดินเนื่องจากมีความแข็งแรงทนทานและสามารถทนต่อความชื้นได้ดี เนื่องจากคุณสมบัติของฉนวน
XLPE ที่สามารถทนต่อความร้อนได้สูง
มีความแข็งแรง ทนต่อแรงทางกลและการกัดกร่อนทางเคมีได้ดี พิกัดอุณหภูมิ จึงสามารถนำกระแสได้สูงขึ้น
ในปัจจุบันจึงมีการใช้สายไฟฟ้าที่หุ้มด้วยฉนวน XLPE มากขึ้น
โดยสายชนิดนี้มีชื่อเรียกว่าสาย CV หรือ CVV ซึ่งไม่อยู่ในมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม แต่จะใช้ตามมาตรฐานอื่น เช่น IEC
502 โดยทั่วไปสายชนิดนี้จะสามารถใช้ งานได้เหมือนกับสาย NYY จึงนิยมใช้เป็นสายป้อนหรือสายประธาน และสามารถฝังดินได้โดยตรง ท่อสายเป็นอุปกรณ์ซึ่งมีลักษณะกลมหรือช่องสี่เหลี่ยมผิวในเรียบใช้ในการเดินสายไฟโดยเฉพาะ
สำหรับท่อน้ำผิวภายในไม่ได้ทำให้เรียบจึงอาจทำความเสียหายกับฉนวนของสายไฟฟ้าได้ จึงไม่เหมาะที่จะใช้ในงานไฟฟ้า - ป้องกันอันตรายกับคนที่อาจจะไปแตะถูกสายไฟฟ้า ซึ่งฉนวนของมันเสียหาย หรือมีการเสื่อมสภาพ - สะดวกต่อการร้อยสาย และ เปลี่ยนสายไฟฟ้าสายใหม่ เมื่อสายหมดอายุการใช้งาน - ท่อสายที่เป็นโลหะจะต้องมีการต่อลงดินดังนั้นจะเป็นการป้องกันไฟฟ้าช็อตได้ - สามารถป้องกันไฟไหม้ได้เนื่องจากถ้าเกิดการลัดวงจรภาพในท่อ ประกายไฟ หรือความร้อนจะถูกจำกัดอยู่ภายในท่อ ท่อสายในปัจจุบัน ที่นิยมใช้ มีดังนี้ - ท่อโลหะหนา ( Rigid Metal Conduit ) - ท่อโลหะหนาปานกลาง ( Intermediate Metal Conduit ) - ท่อโลหะบาง ( Electrical Metallic Tubing ) - ท่อโลหะอ่อน ( Flexible Metal Conduit ) - ท่ออโลหะแข็ง ( Rigid Nonmetallic Conduit ) - รางเดินสาย ( Wireways ) - รางเดินสายประกอบ ( Auxiliary Gutters ) ท่อโลหะหนา ( Rigid Metal Conduit : RMC ) ท่อโลหะหนา ( Rigid Metal Conduit , RMC ) เป็นท่อที่มีความแข็งแรงที่สุด สามารถทนต่อสภาพแวดล้อมต่างๆ ได้ดี ท่อชนิดนี้ถ้าทำมาจากเหล็กกล้าจะเรียกว่าท่อ RSC ( Rigid Steel Conduit ) และ ส่วนใหญ่จะผ่านขบวนการชุบด้วยสังกะสี ( Galvanized Steel ) ซึ่งจะช่วยป้องกันสนิมได้อย่างดี สถานที่ใช้งาน - ใช้งานได้ทุกสถานที่ และสภาพอากาศ ( All Occupancies and All Atmospheric Conditions ) สามารถใช้ทั้งภายนอก ภายในอาคาร และสามารถฝังใต้ดินได้ ขนาดมาตรฐาน - มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง ( ขนาดทางการค้า ) 15 mm ( 1/2² ) – 150 mm ( 6² ) - ความยาวท่อนละ 3 m
การติดตั้ง - ในสถานที่เปียก ( Wet Location ) ส่วนประกอบที่ใช้ยึดท่อ เช่น Bolt , Strap และ Screw เป็นต้น ต้องเป็นชนิดที่ทนต่อการผุกร่อนได้ - ในที่ที่มีการผุกร่อน ( Cinder Fill ) ท่อจะต้องเป็นชนิดที่ทนต่อการผุ กร่อนได้ หรือหุ้มท่อด้วยคอนกรีตหนาอย่างน้อย 2 นิ้ว - การต่อเข้ากับเครื่องประกอบ จะต้องใช้บุชชิ่ง ( Bushing ) เพื่อป้องกันฉนวน ของสายไฟฟ้าเสียหาย - มุมดัดโค้งของท่อระหว่างจุดดึงสายรวมกันจะต้องไม่เกิน 360 องศา - การเดินท่อจะต้องมีการจับยึดมั่นคงแข็งแรงทุกระยะไม่เกิน 3 m และห่างจากกล่องไฟฟ้า หรือจุดต่อไฟไม่เกิน 900 mm การต่อสายและ - การต่อสายหรือต่อแยกจะต้องทำในกล่องไฟฟ้า ( Boxes ) ที่สามารถ การต่อแยก เปิดได้เท่านั้น โดยปริมาตรของสาย , ฉนวน และ หัวต่อสาย รวมกัน จะต้องไม่เกิน 75% ของปริมาตรกล่องไฟฟ้า การต่อท่อ - ท่อ RMC สามารถต่อให้ยาวขึ้นได้ โดยทำเกลียวที่ปลายท่อ แล้วขันต่อกัน ด้วยข้อต่อ ( Coupling ) ซึ่งการทำเกลียวจะต้องทำด้วยเครื่องทำเกลียว ชนิดปลายเรียว - ปลายท่อที่ถูกตัดจะต้องมีการลบคมเพื่อป้องกันไม่ให้บาดฉนวนของ สายไฟ ท่อโลหะหนาปานกลาง ( Intermediate Metal Conduit : IMC ) ท่อโลหะหนาปานกลาง ( Intermediate Metal Conduit , IMC ) เป็นท่อที่มีความหนาน้อยกว่าท่อ RMC แต่สามารถใช้งานแทนท่อ RMC ได้ และมีราคาถูกกว่า สถานที่ใช้งาน - ทุกสถานที่เช่นเดียวกับท่อ RMC ขนาดมาตรฐาน - ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 15 mm ( 1/2² ) – 100 mm ( 4² ) - ความยาวท่อนละ 3 m การติดตั้ง - เช่นเดียวกับท่อ RMC การต่อสายและการต่อแยก - เช่นเดียวกับท่อ RMC การต่อท่อ - เช่นเดียวกับท่อ RMC ท่อโลหะบาง ( Electrical Metal Tubing : EMT )
ท่อโลหะบาง ( Electrical Metallic Tubing , EMT ) เป็นท่อที่มีผนังบางกว่าท่อ RMC และ IMC จึงมีความแข็งแรงน้อยกว่า และมีราคาถูกกว่า
สถานที่ใช้งาน - ใช้ได้เฉพาะภายในอาคารเท่านั้น ทั้งในที่เปิดโล่ง ( Exposed ) และ
ที่ซ่อน ( Conceal ) เช่น เดินลอยตามผนัง เดินในฝ้าเพดาน หรือฝังใน
ผนังคอนกรีตได้ ไม่ควรใช้ท่อ EMT ในที่ที่มีการกระทบกระแทกทางกล
ไม่ใช้ฝังใต้ดินและไม่ใช้ในระบบแรงสูง
ขนาดมาตรฐาน - ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 15 mm ( 1/2² ) – 50 mm ( 2² )
- ความยาวท่อนละ 3 m
การติดตั้ง - เช่นเดียวกับท่อ RMC แต่ไม่อนุญาตให้ใช้ท่อ EMT เป็นตัวนำ
สำหรับต่อลงดิน
การต่อสายและการต่อแยก - เช่นเดียวกับท่อ RMC
การต่อท่อ - ท่อ EMT ห้ามทำเกลียว การต่อท่อจะใช้ข้อต่อชนิดไม่มีเกลียว
เช่น แบบใช้สกรูไข
รางเดินสาย ( Wireways ) เป็นรางที่ใช้เดินสายไฟฟ้า ทำจากเหล็กแผ่นพับเป็นสี่เหลี่ยม มีฝาเปิดปิด เป็นแบบถอดออกได้ แผ่นเหล็กที่ใช้ทำรางเดินสายจะต้องผ่านขบวนการต่างๆ เพื่อกันสนิมก่อน ที่นิยมใช้มี 3 วิธีด้วยกัน คือ ใช้วิธีพ่นสีฝุ่น Epoxy/Polyester , เคลือบด้วยฟอสเฟตหรือสังกะสี ( Galvanized Steel ) , ทาสี และวิธีอลูซิงค์ ( Aluzinc ) วิธีอลูซิงค์เป็นวิธีที่ป้องกันการเกิดสนิมได้ดีกว่าวิธีอื่น โดยแผ่นเหล็กจะถูกเคลือบด้วยสารโลหะที่ประกอบด้วยอะลูมิเนียม สังกะสี และซิลิคอน โดยผสมเนื้อเดียวในลักษณะอัลลอยด์ การต่อรางเดินสายเข้าด้วยกัน หรือ จะเดินเป็นทางโค้ง สามารถใช้อุปกรณ์สำเร็จรูปต่อเข้ากับรางเดินสายได้เลยเพื่อความสะดวกเช่น ข้องอ ( Elbow ) , จุดเชื่อมต่อตัวที ( Tee ) และตัวลดขนาด ( Reducer ) เป็นต้น สถานที่ใช้งาน - รางเดินสายใช้ในที่เปิดโล่ง ถ้าเป็นภายนอกอาคารมา จะต้องเป็นชนิดกันฝนได้( Raintight ) ไม่ใช้ในที่ที่มีอันตรายทางกายภาพ จำนวนตัวนำ - ผลรวมของพื้นที่ภาคตัดขวางของสายไฟฟ้าจะต้อง ไม่เกินร้อยละ 20 ของพื้นที่ภาคตัดขวางภายในของรางเดินสาย พิกัดกระแสของตัวนำ - พิกัดกระแสของตัวนำในรางเดินสาย ให้ใช้ตามตารางกฎการเดินสายของการไฟฟ้า ในกรณีเดินสายในท่อโลหะในอากาศ ถ้าจำนวนตัวนำเกิน 30 เส้น จะต้องใช้ตัวคูณลดตามตาราง โดยจะนับตัวนำที่มีกระแสเท่านั้น ตัวนำสำหรับวงจรสัญญาณ ตัวนำในระบบควบคุมมอเตอร์ และ สตาร์ทเตอร์ ที่ใช้ในการ เดินเครื่องเท่านั้นไม่ถือเป็นตัวนำที่นำกระแส ขนาดมาตรฐาน - รางเดินสายที่บริษัทผู้ผลิตนิยมผลิตออกมาจำหน่ายมีขนาดดังนี้ H ( ความสูง ) = 50 , 75 , 100 , 150 และ 200 mm W ( ความกว้าง ) = 50 , 75 , 100 , 150 , 200 , 250 และ 300 mm L ( ความยาว ) = 1200 และ 2400 mm T ( ความหนา ) = 1.0 และ 1.5 mm การติดตั้ง - จะต้องมีการจับยึดที่มั่นคงแข็งแรง ทุกระยะห่างกันไม่เกิน 1.5 m - ไม่อนุญาตให้ต่อรางเดินสายตรงจุดที่ผ่านผนัง หรือพื้น - ไม่อนุญาตให้ใช้รางเดินสายเป็นตัวนำสำหรับต่อลงดิน จำนวนสายไฟฟ้าสูงสุดในรางเดินสาย ที่ใช้ได้มีกฎเกณฑ์ดังนี้ 1) พื้นที่หน้าตัดของสายไฟฟ้าทั้งหมดรวมกันต้องไม่เกิน 20% พื้นที่หน้าตัดภายในของรางเดินสาย 2) ขนาดกระแสพิกัดของสายในรางเดินสาย ให้ใช้ค่ากระแสตามตารางกฎการเดินสายของการไฟฟ้า โดยยกเว้นกรณีที่สายเกิน 30 เส้น จะต้องใช้ตัวคูณลดขนาดพิกัดกระแส ส่วนรางเคเบิล ( Cable Trays ) เป็นโครงสร้างสำหรับรองรับสายเคเบิล รางเคเบิลจะต้องมีความแข็งแรงมากพอที่จะรับน้ำหนักของสายทั้งหมดได้ และจะต้องไม่มีส่วนที่เป็นคมที่อาจทำให้ปลอกสาย หรือฉนวนฉีกขาด รางเคเบิลไม่ถือว่าเป็นท่อร้อยสาย ( Raceways ) แต่ได้รับความนิยมใช้กันมากในโรงงานอุตสาหกรรมต่างๆ เนื่องจากสามารถตัดตั้งได้ง่าย และมีราคาถูก การเดินสายใต้ดินอาจทำได้หลายวิธีเช่น - ฝังใต้ดินโดยตรง - เดินในท่อฝังดิน - เดินใน Duct Bank Duck Bank คือการเดินสายใต้ดินในท่ออโลหะ เช่น HDPE ,Asbestos ท่อเหล่านี้จะถูกหุ้มด้วยคอนกรีตเสริมเหล็ก ซึ่งทำให้มีความแข็งแรงเพิ่มขึ้น การเดินสายแบบนี้ต้องมี Handholes หรือ Manholes เพื่อการตัดต่อสาย การเปลี่ยนทิศทางการเดินสาย
และ การนำวงจรไปใช้ เป็นต้น Molded Case Circuit Breaker ( MCCB ) เป็น CB ที่บริภัณฑ์ตรวจจับและบริภัณฑ์ตัดต่ออยู่ภายในวัสดุฉนวน ซึ่งทำด้วยสารประเภทพลาสติกแข็ง MCCB มีตั้งแต่ขนาดเล็กจนถึงขนาดใหญ่ ใช้สำหรับป้องกันระบบไฟฟ้าตั้งแต่วงจรย่อย สายป้อนถึงสายประธาน และบริภัณฑ์ไฟฟ้าด้วย นอกจากนี้ในวงการวิศวกรรมไฟฟ้า ยังมี MCB (Motor Circuit Breaker) ซึ่งเป็นสวิทช์ตัดตอนเพร้อม Over Load ใช้เพื่อตัดวงจรเพื่อป้องกันมอเตอร์ Air Circuit Breaker ( ACB ) เป็น CB แรงดันต่ำอีกชนิดหนึ่ง สามารถดับอาร์กไฟฟ้าในอากาศจึงเรียกว่า Air Circuit Breaker ( ความจริง MCCB ก็ดับอาร์กในอากาศเช่นเดียวกัน แต่เมื่อพูดถึง ACB จะหมายถึง CB ขนาดใหญ่ ) ACB เป็น CB ขนาดใหญ่ มีพิกัดกระแสต่อเนื่องสูง คืออาจมีตั้งแต่ 600 A ถึง 6300 A เป็นแบบเปิดโล่ง ( Open Frame ) กล่าวคือมีบริภัณฑ์และกลไกอยู่เป็นจำนวนมาก และติดตั้งอย่างเปิดโล่งเห็นได้ชัดเจน ระบบหลักดินในระบบไฟฟ้า มีหน้าที่ 1. ทำให้ระบบไฟฟ้าสายดินเกิดการต่อถึงกันอย่างดีระหว่างดิน และส่วนที่เป็นโลหะที่ไม่มีกระแสไหลผ่านของสถานประกอบการ เพื่อให้ส่วนโลหะเหล่านี้มีศักดาไฟฟ้าเป็นศูนย์ คือที่ระดับดิน 2. เพื่อให้เป็นทางผ่านเข้าสู่ดินอย่างสะดวกสำหรับอิเล็กตรอนจำนวนมาก ในกรณีที่เกิดฟ้าผ่า หรือแรงดันเกิน 3. เพื่อถ่ายทอดกระแสรั่วไหล หรือ กระแสที่เกิดจากไฟฟ้าสถิตสามารถลงสู่ดินได้ การต่อลงดินสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ชนิด
คือ จุดประสงค์ของการต่อลงดินของระบบไฟฟ้า มีดังนี้
1. เพื่อจำกัดแรงดันเกิน ( Over Voltage ) ที่ส่วนต่างๆ ของระบบไฟฟ้าซึ่งอาจเกิดจากฟ้าผ่า
( Lightning ) เสิร์จในสาย ( Line Surges ) หรือ สัมผัสกับสายแรงสูง ( H.V.Lines ) โดยบังเอิญ
2. เพื่อให้แรงดันเทียบกับดินขณะระบบทำงานปกติมีค่าอยู่ตัว
3. เพื่อช่วยให้อุปกรณ์ป้องกันกระแสเกินทำงานได้รวดเร็วขึ้น
เมื่อเกิดการลัดวงจรลงดิน
เครื่องวัดความต้านทานดินจะเป็นชนิดเดียวกันกับเครื่องวัดความต้านทานจำเพาะของดิน
ความถูกต้องของการวัดจะขึ้นอยู่กับความสามารถในการไหลของกระแสทดสอบและลักษณะการวาง Current Electrode และ Probe ดังรูปที่ 6.29 เมื่อทำการวัดในดินที่มีความต้านทานจำเพาะสูง ( มากกว่า
100 W.m ) จำเป็นที่จะต้องลดความต้านทานที่
Current Electrode ลงเพื่อเพิ่มกระแสทดสอบ
โดยการนำ Current Electrode หลายๆ ตัวมาต่อขนานกัน หรืออาจทำให้ดินบริเวณ
Current Electrode เปียกชื้นในขณะที่กำลังทำการวัดได้ เมื่อทำให้การไหลของกระแสทดสอบเป็นไปด้วยดีแล้ว
เราก็สามารถอ่านค่าความต้านทานได้จากมิเตอร์โดยตรง รูปแสดงตำแหน่งการวาง Current Electrode และ
Probe เพื่อทำการวัดความต้านทานดินของหลักดิน
- Current Electrode และ
Probe ต้องตอกในแนวดิ่งและอยู่ในแนวเดียวกันกับ
Earth Electrode
Earth
Electrode - Current Electrode = a
- IEC 60364 เป็นมาตรฐานเกี่ยวกับการติดตั้งระบบและอุปกรณ์ไฟฟ้า ( Electrical Installation of Building ) ซึ่งมีหลายฉบับ ได้แก่ IEC 60364-1 Scope , Object and Definitions IEC 60364-2 Fundamental Principles IEC 60364-3 Assessment of General Characteristics IEC 60364-4 Protection for Safety IEC 60364-5 Selection and Erection of Electrical Equipment IEC 60364-7 Requirement for Special Installations or Locations
มาตรฐาน IEC 60364 ในขณะนี้มีหลายประเทศได้นำมาใช้ และคาดว่ามาตรฐานนี้จะเป็นมาตรฐานสากลสำหรับการติดตั้งระบบและอุปกรณ์ไฟฟ้าในอนาคต
- IEC 60947 - มาตรฐานเกี่ยวกับอุปกรณ์ไฟฟ้าแรงดันต่ำ ( Low Voltage Switchgear and Controlgear ) เช่น Circuit Breakers ,Contactors etc. - มีหลายฉบับ IEC 60947-1 เกี่ยวกับ General Rule IEC 60947-2 เกี่ยวกับ Circuit Breakers IEC 60947-3 เกี่ยวกับ Switches , Disconnectors Switch , Disconnectors and Combination Units IEC 60947-4 เกี่ยวกับ Contactors and Motor Starters IEC 60947-5 เกี่ยวกับ Control-Circuit Devices and Switching Elements IEC 60947-6 เกี่ยวกับ Multiple Function Equipment IEC 60947-7 เกี่ยวกับ Ancillary Equipment - IEC 60947 เป็นมาตรฐานที่มีความสมบูรณ์มาก
- IEC 60439-1 IEC 60439-1 ( Low-Voltage Switchgear and Controlgear Assemblies ) Part 1 : Type-Tested and Partially Type-Tested Assemblies เป็นมาตรฐานเกี่ยวกับตู้ Switchboard Type-Tested Assemblies หมายถึง ตู้ Switchboard ที่ได้ผ่านการทดสอบที่สำคัญ 7 อย่างคือ 1. Temperature Rise Limits 2. Dielectric Properties 3. Short-Circuit Withstand 4. Protective Circuit Effectiveness 5. Clearances and Creepage Distances 6. Mechanical Operation 7. Degree of Protection |